มาระบายสีชิเอลด้วย Neopiko-2 กันเถอะจ้า!!
….
รีวิวปากกา Sketch Marker “Neopiko-2” ของ Deleter คร่า~!!
…..
ถ้าพูดถึงปากกา Sketch Marker โดยส่วนใหญ่ทุกคนมักจะอ๋อและคิดถึงออกมาทันทีว่าCopic แต่อย่างที่เคยอัพไว้นะคะว่า Copic ไม่ใช่ชื่อของปากกาเป็นชื่อของยี่ห้อปากกาซึ่งสาเหตุที่Copic เป็นที่รู้จักกันดีอย่างแพร่หลายในประเทศไทยนั่นเป็นเพราะ Sketch Marker ยี่ห้อนี้เข้ามาจำหน่ายในประเทศเราก่อนยี่ห้ออื่นๆดังนั้นคนที่เล่น Sketch Marker โดยส่วนใหญ่จึงรู้จักและเคยชินกับ Copic มากกว่ายี่ห้ออื่นๆ แต่ประมาณปลายปีที่แล้วพี่ Zeren ได้มีโอกาสรู้จักกับ Sketch Marker ยี่ห้ออื่น… ทางบริษัทที่ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์วาด การ์ตูน Deleter ได้ส่งสินค้าตัวอย่างมาให้พี่ Zeren ได้ลองทดใช้ เป็น Sketch Marker Alcohol Base แบบเดียวกับCopic ซึ่งสามารถใช้ร่วมหรือใช้แทนสี Copic ได้เป็นอย่างดี ชื่อของมันก็คือ Neopiko-2 ค่ะ (ชื่อแอบจำยากนิดส์นุง พี่เซเรนเลยเรียกย่อ เองว่า เนโอปี้จัง ค่ะ อิ อิ)
เอ….. แล้วมันใช้แทนกันได้ดีจริงรึ??? โอเช! ไหนๆทางบริษัทเค้าก็ส่งตัวอย่างมาให้เราทดลองใช้แล้วแบบนี้มันก็ต้องพิสูจน์กันหน่อย!!
ดังนั้นงานรีวิวของเราวันนี้จึงเป็นงานที่ใช้สี Sketch Marker Neopiko-2 หรือเนโอปี้จังทั้งหมดเลยนะคะและภาพที่เราจะใช้รีวิวก็คือ…..
น้องชิเอลภาพนี้เป็นแฟนอาร์ตที่พี่เซเรนเคยดร๊าฟเอาไว้เล่นๆเมื่อนานมาแล้วเห็นคอมโพสต์สวยดี + ซื้อหมึกยี่ห้อใหม่มาลองเป็นหมึกวาดการ์ตูนขวดสีม่วงของ Deleter ตอนนั้นแค่อยากลองหมึก แต่ไม่มีอารมณ์จะวาดรูปหัวตันเล็กๆก็เลยเลือกดร๊าฟภาพนี้เพื่อลองหมึก (เล่นง่ายอิอิ) ตัวละครลงเส้นด้วย G-Pen ของ Tachikawa หมึก No.1 สีม่วงของ Deleter ต่อมาทาง Deleter ส่งปากกาตัดเส้นNeopiko-Line 3 มาให้ลองใช้อีกก็เลยเอามาเล่นกับแบล็คกราวน์เป็นว่าเส้นดอกกุหลาบใช้ Neopiko Line 3 เบอร์ 0.1 สร้อยมุกกลมๆข้างหลังใช้Neopiko Line 3 เบอร์ 0.5 ….โอ้โห!! ไหนๆ 99% ของงาน Ink ภาพนี้ก็ประกอบไปด้วยผลิตภัณฑ์ของ Deleter แล้วเพราะฉะนั้นก็เอาภาพนี้นี่แหล่ะค่ะมาทดสอบกับสี Neopiko-2 ของ Deleter ด้วยซะเลยแล้วกันจะได้เต็มเหนี่ยวกันไปเล้ย!!
Step 1:
เรามาเริ่มต้นจากการลงสีพื้นหลังซึ่งเป็นพื้นที่กว้างกันก่อนค่ะการลงสีพื้นหลังก่อนมันง่ายตรงที่เราสามารถปาดสีได้อย่างฉ่อยๆรวดเร็วสบายๆโดยไม่ต้องกลัวสีจากตัวคาแร็กเตอร์ซึ่ง(ถ้า)ลงไว้ก่อนแบล็คกราวน์จะละลายออกมาและเปื้อนเลอะฉากหลังได้โดยเฉพาะถ้าองค์ประกอบส่วนใหญ่ของตัวละครเป็นสีโทนมืดน้ำเงินเข้มดำแดงเข้มอะไรพวกนี้และพื้นหลังเป็นสีที่อ่อนกว่าให้ระวังไว้เลยนะคะว่าเราควรจะต้องลงสีแบล็คกราวน์ก่อน (แต่ถ้าพื้นหลังดำเข้มก็ควรลงสีคาแร็กเตอร์ก่อน)
แบล็คกราวน์มาทำลายลูกไม้เล่นๆกันดีกว่าเน๊าะไม่ค่อยได้เล่นลายนี้ไหนๆก็จะลองแล้วลองของที่ไม่ได้เล่นไปด้วยเลย
ภาพ 1: กะขนาดวงกลมของลูกไม้ใช้สีเหลืองเบอร์404 เพนท์ในส่วนของวงกลมให้เรียบ
ภาพ 2: ติดสติกเกอร์เพลทลายลูกไม้ลงไป < สติ๊กเกอร์ตัวนี้พี่ Zeren ทำเองค่ะ Print ลายใส่สติกเกอร์กระดาษแล้วใช้คัตเตอร์ไดคัทเอาไว้พอจะใช้ก็เอามาปะติดลงภาพสติกเกอร์ตัวนี้ไม่เหนียวมากติดลงไปแล้วก็สามารถลอกออกได้ทำไว้หลายลายก็แล้วแต่ว่าอยากจะเลือกใช้ลายไหนค่ะ (จริงๆลายที่ใช้ในภาพนี้ง่ายมากวาดเอาก็ได้แต่เราก็ใช้สติกเกอร์เพื่อจะได้แชร์ทริกให้น้องๆดูอิอิ)
ภาพ 3-4: ติดเพลทลงไปจนครบในส่วนที่ติดเกินลงตัวละครไปนั้นแค่เพื่อวัดระดับสายตาว่าเป็นวงกลมเต็มรูปที่ไม่เบี้ยวค่ะ
Step 2:
เริ่มลงสีแบล็คกราวน์จากในวงกลมลูกไม้ก่อนค่ะ ตรงนี้จะไล่เฉดนิดนึงโดยใช้เนโอปี้เบอร์524 กับ 525
ภาพ 1: โทนสีเบอร์ 524 และ 525
ภาพ 2: ใช้เบอร์ 525 ที่เข้มกว่าเพนท์เป็นกรอบรอบนอกของลูกไม้
ภาพ 3: ใช้เบอร์ 524 เพนท์แบล็คกราวน์ตั้งแต่ด้านบนลงมาโดยปาดทับในส่วนของลูกไม้ไปด้วย
ภาพ 4: ใช้ 525 ไล่โทนเข้มจากด้านล่างขึ้นมาและใช้ 524 ไล่จากด้านบนลงไปตรงนี้ต้องลงอย่างเร็วโดยอย่ารอให้สีทั้ง 2 เบอร์แห้งนะคะเพื่อทั้งสองสีจะได้ละลายกลืนกันไปอย่างเรียบเนียน
Step3: ไม่รอช้าลงสีพื้นด้านล่างต่อเล้ย!!
สีพื้นด้านล่างใช้เบอร์ 525 ซึ่งเป็นเบอร์เดียวกันกับเฉดเข้มของกำแพงแบล็คกราวน์แต่ในตัวงานจะเห็นว่าสีพื้นออกมาเข้มมากกว่าสีกำแพงอันนี้เป็นข้อดีอย่างหนึ่งของเนโอปี้จังที่จะมีน้ำหมึกของสีบางกว่า Copic ทำให้สามารถผสมสีให้เกิดอีกเฉดหนึ่งได้ง่ายกว่า Copic สาเหตุที่สีส่วนกำแพงดูจางกว่าพื้นนั้นเป็นเพราะความเข้มของสีถูกเจือจางไปด้วยการผสมเข้ากับเบอร์ 524 และสาเหตุที่พื้นสีเข้มกว่ากำแพงเป็นเพราะว่าพี่เซเรนปาด 525 ทับซ้ำลงไปเกือบๆจะ 10 รอบทุกครั้งที่ปาดทับเฉดความเข้มของสีก็จะเพิ่มขึ้นในจุดนี้ Copic จะทำได้ลำบากกว่าค่ะเพราะหมึก Copic ข้นถ้าเราใช้ Copic การทำเงาบางจุดก็จำเป็นต้องใช้สีเบอร์ที่เข้มกว่าไปเลย
ตรงนี้เรารีวิวกันตามจริงนะคะพี่เซเรนจะไม่บอกว่าอะไรดีกว่าอะไรนะเพราะสีแต่ละยี่ห้อมีทั้งข้อดีและข้อเสียต่างกันค่ะ เพราะถึงเนโอปี้จังจะมีข้อดีในจุดที่น้ำหมึกบางแต่ข้อเสียของมันก็อยู่ในจุดที่น้ำหมึกบางนี่แหล่ะค่ะเพราะถ้าเป็นCopic ที่หมึกข้นกว่าเราปาดไปแค่ชั้นเดียวก็จะได้สีตามต้องการแล้วแต่บางครั้งเนโอปี้ถ้าเราอยากได้สีที่เข้มเราก็ต้องปาดหลายครั้งมากเป็นสิบๆรอบ << และมันทำให้เปลืองน้ำหมึกมากกว่าหมึกจะหมดเร็วกว่าCopic กล่าวโดยสรุปคือข้อดีและข้อเสียของแต่ละยี่ห้อมันขึ้นอยู่กับสถานการณ์ต่างๆของการใช้ค่ะ 

โอเคเข้าเรื่องๆมาดูภาพการลงสีทีละขั้นตอนกันต่อเลยค่ะ
ภาพที่ 1: เพื่อกันไม่ให้สีเข้าไปเปื้อนในตัวภาพเราเก็บขอบสีก่อน1 ชั้นด้วยเบอร์ 525
ภาพที่ 2: ใช้เบอร์เดียวกัน 525 เพนท์ทับสีพื้น 1 ชั้นเสร็จแล้วก็เพนท์ทับต่อไปอีกเพนท์ทับไปเรื่อยๆจนกว่าจะได้สีที่เรียบในระดับเฉดสีที่ต้องการ
ภาพที่ 3: ลงสีผิว
เอ๊ะ…. เราลงสีแบล็คกราวน์ไปแล้วทำไมในภาพตัวอย่างแบล็คกราวน์ถึงยังขาวอยู่อีกล่ะ?? << ไม่ต้องแปลกใจไปนะคะพอดีงานนี้พี่เซเรนจะส่งต้นฉบับให้ทาง Deleter เก็บไว้ชาบูเอ๊ย! ให้เค้าเอาไปโชว์เพราะเป็นงานจากผลิตภัณฑ์ของเค้าน่ะค่ะก็เลยซีเรียสเล็กน้อยในระหว่างที่เราลงสีคาแร็กเตอรและไม่ได้ไปยุ่งอะไรกับแบล็คกราวก็เลย Print ภาพลายเส้นมาเจาะรูเฉพาะตรงตัวละครแล้วติดหุ้มกันแบล็คกราวน์เลอะเอาไว้ค่ะ
สีเนื้อ…. เลือกใช้ยากจุงเบย…. ทุกทีใช้แต่ Copic เบอร์ E ซึ่งโทนสีเนื้อของNeopiko-2 จะใกล้เคียงกับ Copic เบอร์ R ซะมากกว่า… เป็นผิวคนละเฉดกับเดิมที่เคยใช้ก็เงิบๆมึนๆไปพักใหญ่นะคะว่าจะลงยังไงแต่สุดท้าบก็เลือกใช้ทุกสีตามภาพนี่แหล่ะค่ะปาดทำส่วนเงาของใบหน้าและใช้ใช้ 550 เป็นสีเบส < พอลงเสร็จก็เริ่มรู้สึกว่าคิดผิดน่าจะใช้ 553 เป็นเบสเพราะเหมาะกว่าแต่ก็ลงเสร็จไปแล้วอ่ะนะ 55555+
**หมายเหตุ** ในภาพสแกนบางส่วนจะเห็นว่าสีของหน้าดูชมพูหรือแดงจนเกินไปทั้งนี้ไม่เกี่ยวกับเบอร์สีของเนโอปี้นะคะ พอดีเครื่องสแกนตอนนั้นแฮงค์อัพพอดีเลยอ่านค่าสีแดงกับเหลืองเพี้ยนไปนิด
Step 4: ลงสีผมกันต่อเลยค่ะ
สีผมชิเอลออกโทนฟ้าสีโทนฟ้าของเนโอปี้พี่เซเรนชอบมากเลยเพราะเป็นฟ้าไอซ์ๆดูเบสมาคนละเฉดกับCopic อาจมีสีฟ้าที่ใกล้เคียงกับ Copic แต่ไม่มีแบบที่ซ้ำกันเลยถ้าซื้อ 2 ยี่ห้อก็จะได้ฟ้าสวยๆมาหลายเฉดมากเลยล่ะค่ะ
ภาพที่ 1: รองพื้นสีอ่อนสุดด้วย 461
ภาพที่ 2: ลงสีเบสกลางเบอร์ 452
ภาพที่ 1: ใช้เบอร์ 454 ลงสีเข้มกลางและใช้ 457 แต่งทับในจุดที่เข้มที่สุด
ภาพที่ 2: ไหนๆก็หยิบสีฟ้าออกมาเอา 452 มาลงในส่วนของเสื้อผ้าที่เป็นสีฟ้าไปเลยก็แล้วกัน
Step 5:
ลงสีส่วนประกอบอื่นๆของเสื้อผ้าต่อได้เลยตรงนี้ไม่ยากค่ะจะอธิบายเฉพาะในจุดที่(คิดว่า) วุ่นวายหน่อยก็แล้วกันนะคะ
ภาพที่ 1: ใช้สีดำเบอร์ 600 ลงในส่วนเงาเข้มของเสื้อและสีแดง 513 เพนท์ผ้ารองนั่ง
ภาพที่ 2: ใช้น้ำเงินเบอร์ 475 ระบายเสื้อสีเข้มจากนั้นใช้เบอร์ 600 ลงเสื้อผ้าในส่วนของสีดำเว้ยพื้นทีสำหรับส่วนเงาแสงสีเทาเอาไว้ตามความเหมาะสม
ภาพที่ 3: ลงสีใบไม้และกิ่งก้านกุหลาบโดยใช้เบอร์ 450 ลงเงาเข้มไปก่อนจากนั้นเพนท์ทับเบาๆด้วยเบอร์ 427
Step 7:
ลงกุหลาบสีแดงและเก็บผ้าม่านสีดำกันเลยค่ะ
ภาพที่ 1: ใบกุหลาบที่ลงสีเสร็จแล้วชนิดซูม
ภาพที่ 2: ลงใบกุหลาบทั้งหมดในภาพให้ครบทุกใบ
ภาพที่ 3: ระบายสีแดงเบอร์ 513 รอให้แห้งสัก 2-3 นาทีแล้วใช้สีเบอร์เดิม แต่งทับในส่วนเงาเข้มของกลีบกุหลาบ ใช้ 513 ลงกุหลาบให้ครบทุกดอกในภาพ
ภาพที่ 4: ใช้สีดำเบอร์ 600 ระบายผ้าม่านสีดำเว้นส่วนของเงาแสงสีเทาตามความเหมาะสม
ใช้โทนสีเทาตกแต่งภาพตบท้ายถือเป็นอันเสร็จเรียบร้อยค่ะ