สอนลงสี How to ภาพสีน้ำสวยๆ งามๆ [Part 1]ค่า~!!
สอนวาดการ์ตูนวันนี้จะเน้นไปที่งาน illustration หน่อยนะคะ เพราะเนื้อหาที่เอามาฝากกันเป็นการ สอนลงสีน้ำ By Coco Studio ค่า~!!
ปกติโคโค่ส์ไม่ค่อยจะทำ How to อะไรพวกนี้สักเท่าไหร่หรอกค่ะ มันชักช้า จุกจิก ทำไปถ่ายรูปไป โคโค่ส์จะออกแนวรำคาญเพราะไม่ค่อยชินน่ะค่ะ แต่ทีนี้ที่หน้า Fanpage ของ Ren Ren พี่เซเรนเจอน้องๆ สอบถามกันเข้ามาจำนวนหนึ่งเลยเกี่ยวกับการลงสีน้ำ ว่าลงยังไง แบบไหน โดยเฉพาะคำถามยอดฮิตว่า ‘สีน้ำ ลงยังไงถึงจะไม่ทิ้งคราบ’ ตรงนี้สำคัญเลยค่ะ เพราะคนส่วนใหญ่จะเข้าใจผิดว่าสีน้ำมันต้องเป็นคราบ การทิ้งคราบร่องรอยเอาไว้ให้ตำรวจสืบหาหลักฐานได้เป็นธรรมชาติของสีน้ำ (< ใช่รึ o.O ) ไปๆ มาๆ พอลงสีน้ำแล้วเลยกลานเป็นพยายามใช้น้ำเยอะๆ หยดๆ ลงภาพให้สีมันกระจายตัวทิ้งคราบจนภาพเลอะไปเสียอย่างนั้นเลย
มันเป็นความเข้าใจที่ผิดนะคะ…. ธรรมชาติ + คุณสมบัติของสีน้ำคือโปร่งแสง ไม่ใช่ทิ้่งคราบเราสามารถลงสีน้ำได้แบบไม่เลอะเละเทะ และไม่ทิ้งครายด้วยค่ะ
จริงๆ พี่ Zeren ก็ว่าจะทำ How to สอนลงสีน้ำตั้งนานแระ เสียแต่พี่เซเรนใจร้อนมากกกกก ไม่เหมาะกับการทำงานสีน้ำที่เพนท์ไปช่วงหนึ่งต้องนั่งท่องยอดพระกัณฑ์ไตรปิฏกไปอีกช่วงหนึ่งเพื่อรอให้สีแห้ง เสร็จมาลงต่ออีกช่วงหนึ่งแล้วไปท่องธรรมจักรกัปวัตนสูตรอีกช่วงหนึ่งเพื่อรอให้สีแห้ง เสร็จแล้วค่อยมาลงต่อ… โหย… โคตรหงุดหงิดอย่างรุนแรงเลยล่ะค่ะ :'(
ดังนั้นพี่เซเรนก็เลยเกิดไอเดียว่าไปพึ่งพาอ้อนวอนเมพสีน้ำ of the Ren Ren มาดีกว่า น้องๆ จะได้เรียนวิชา+เทคนิคดีดีจากรุ่นปรมาจารย์กันซะเลย
ด้วยเหตุนั้นเองเรื่องก็เลยเดือดร้อนมาถึง COCOs ที่ต้องมาวาดรูป ทำ How to ถ่ายภาพทีละสเต็ปๆ มาให้น้องๆ ได้เรียนกัน เอ้า! ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว ไปเรีียนการระบายสีน้ำ Step by step กันเลยค่า~!!
อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการลงสีน้ำ
…
1. กระดาษลงสีน้ำแบบเรียบ
กระดาษอย่าคิดกว่าไม่สำคัญนะคะ การลงสีน้ำมันจะต้องลงน้ำซ้อนกันเข้าไปเยอะหลายๆ ชั้น ถ้าเราใช้กระดาษบาง หรือกระดาษที่ไม่ดีมันจะทำให้เนื้องานเกิดขุ่ยกระดาษที่ลอกร่อนออกมาได้ แนะนำกระดาษอย่างยาจกๆ ราคาไม่แพงนะคะ…. มาสเตอร์อาร์ตสีน้ำนี่พี่ไม่แนะนำค่ะ ของพี่ซื้อมาใช้ยังกองพะเนินอยู่เต็มบ้านเนืื่องจากห่วยจนใช้ไม่ได้อยู่นี่ กระดาษ 100 ปอนด์ค่อนข้างห่วย แต่ถ้าหาไม่ได้ก็เอามาถูไถกันไปก่อนค่ะ กระดาษตราดาว (ซื้อร้า่นสยามมาร์ฯ) อยู่ระดับพอโอเค แต่ถ้าคุณหรูพอก็ล่ออันนี้เลยค่ะ

arches watercolor blocks
อันนี้จะเป็นกระดาษลงสีน้ำที่มีบล็อคนะคะ (ทำไมต้องมีบล็อคเดี๋ยวจะอธิบายต่อไป) กระดาษนำเข้าราคาเลยสูงลากเลือด มีขายอยู่ที่ B2S เซ็นทรัลเวิร์ล เวลาจะซื้อดูรายละเอียดของกระดาษด้วยค่ะ ถ้าเขีัยนไว้ว่า Coldpress จะเป็นแบบเนื้อหยาบ ถ้าเขียนว่า Hotpress จะเป็นแบบเนื้อเรียบ ในที่นี้ COCOs เลือกใช้เนื้อเรียบ เพราะเราจะลงสีน้ำแบบเรียบๆ กันนะคะ
.
2. สีน้ำ (Watercolor)
สีน้ำแต่ละยี่ห้อมันจะมีคุณภาพแตกต่างกันนะคะ ของดีดีส่วนใหญ่ราคามันจะแพงอ่ะ 555+ สีน้ำตราหมาตราม้าอะไรพวกนั้นละไว้ในฐานที่จนมากๆ นะคะ เพราะในหลอดมันมีน้ำมากกว่าสี มันเป็น น้ำสี ค่ะ ไม่ใช่ สีน้ำ :'( ดังนั้นถ้าพอจะทุ่มทุนได้หน่อยการขยับยี่ห้อที่ราคาสูงขึ้นมาหน่อยมันก็พอจะทำให้ชีวิตสดใสขึ้นมาได้บ้างอย่างถ้าเป็น reeves หรือ ศิลปากร คุณภาพมันก็พอทนอยู่ กับสสนราคาก็ถือว่าไม่ได้แพงโหดจนเกินไป กล่องละ 200-300 ตามจำนวนสีค่ะ แต่ถ้าทุ่มได้อย่าง Winsor ก็ถือว่าดีเลยนะคะ แต่พี่ไม่ค่อยชอบ Winsor ล่ะ 555+ คือเราแนะนำเฉพาะของดีที่หาซื้อได้ในประเทศโลกที่สามอย่าง Thailand น่ะค่ะ (โลกที่สาม… พิมพ์แล้วจุกเอง 555+) แต่ Winsor นี่สีมันจะหม่นๆ เอาจริงๆ ในท้องตลาดเกือบทุกยี่ห้ออ่ะ สีมันจะหม่นอยู่หน่อยๆ
.
3. PRO-WHITE
เป็นสีโปสเตอร์ขาวแบบเข้มข้นพิเศษ… ที่ไทยมีขายหรือเปล่าไม่ทรานะคะ พยายามจะเสิร์ชหาร้านที่ขายใน Google ให้น้องๆ แล้ว แต่หาไม่เจออ่ะ :'( แต่ถ้าไทยไม่มีขายก็ไม่เป็นไรค่ะ Amazon มีขาย หาซื้อได้แถวนั้นค่ะ อิ อิ (จริงๆ สั่งกับร้านสยามมาร์ฯ ก็ได้นะคะ เอาภาพตัวอย่างไปให้ดูเดี๋ยวป้าเค้าก็เอาเข้ามาให้ )
.
4. Gouache (White)
Gousche นี่จะเป็นทึบน้ำแบบทึบแสงนะคะ มีความต่างกับสีโปสเตอร์ตรงที่เนื้อไม่ด้าน ปาดลงไปแล้วจะให้เท็กเจอร์ที่ต่างจากสีโปสเตอร์ แล้วเนื้อสีก็ไม่แตกด้วยค่ะ ในภาพ How to นี้โคโค่ส์จะใช้แต่สีขาวเท่านั้นค่ะ
.
5. พู่กันหลายไซต์ ทั้งแบบหัวแบนและหัวกลม
ไม่มีคำอธิบาย และไม่มีภาพให้ดู เพราะคิดว่าทุกคนต้องรู้จัก เลือกใช้ยี่ห้อดีๆ ที่ใช้ไปๆ ปลายหัวไม่แตกนะคะ ชอบแบบไหนก็ซื้อใช้ได้ตามอัธยาศัยค่ะ
.
6. Masking Fluid
ตัวนี้น้องๆ อาจจะเคยเห็นพี่ Zeren เรียกที่หน้าเพจว่า Marking full it หรือ Masking Fool อย่าซีเรียสค่ะ พี่เซเรนก็เรียกไปเรื่อยและ เอากวนไว้ก่อน อย่าง Masking full it นี่ในหัวคือยัดไปให้มันเต็ม แล้วค่อยมาติดที่หลังว่าจะเพนท์ต่อยังไงกับส่วนที่ปาด Masking T^T ส่วน Masking Fool อ่ะค่ะ… ถ้าใครลองใช้มันกับกระดาษห่วยๆ สักแผ่นแล้วจะเข้าใจว่าทำไม่พี่เซเรนถึงเรียกมันว่า Masking Foolค่ะ ของแบบนี้ต้องลอง ถึงจะรู้ค่ะ T^T
แต่เอาจริงเอาจังไอ้ตัวนี้มันเรียกว่า Masking Fluid ค่ะ เป็นยางพาราเอาไว้ปาดมาร์กในส่วนที่เราไม่ตอ้งการจะให้สีน้ำเปื้อนไปโดน ซึ่งสามารถใช้ยางลบลบออกจากภาพได้ หรือเอาจริง… พี่ใช้นิ้วมือนี่แหล่ะค่ะ ปาดออกเบาๆ ก็ได้แล้ว <<< แต่ถ้ากระดาษห่วยเกินมันจะทำให้กระดาษขาดได้ เพราะฉะนั้นจะใช้อุปกรณ์อะไรคู่กับอะไรต้องดูคุณภาพให้สัมพันธ์กันได้ด้วยนะคะ
Note: Masking F เวลาใช้ปาดลงต้นฉบับมันจะทำให้พู่กันเสียได้นะคะ เพราะฉะนนั้นต้องเอามันจ่มสบู่เหลวเข้มข้นแบบไม่ผสมน้ำก่อน แล้วค่อยเอามาจุ่ม Masking F ดังนั้นถ้าจะใช้ตัวนี้ก็ควรเตรียมสบู่เหลวไว้ด้วยนะคะ
7. Masking Tape เทปนิตโต้
เผื่อใครไม่รู้จัก มันคือกระดาษกาวธรรมดาๆ นี่แล่ะค่ะ แต่ต้อง Notto เพราะมันต่างกับยี่ห้ออื่นตรงที่เมื่อแปะลงกระดาษแล้วสามารถลอกออกมาได้ง่ายๆ ตรงนี้นอกจ่ก Nitto แล้วพี่ Zeren จะใช้สก็อตเทปขุ่นเมจิกเทป << รู้สึกว่ามันลอกง่ายกว่านิตโต้นะอันนี้ อิ อิ
อันนี้หน้าตาเมจิกเทป ยกมาทั้งโหษณานั่นแหล่ะ จะได้รู้ว่ามันเป็นยังไง อิ อิ
8. ทิชชู่
ยี่ห้อไหนแบบไหนก็ได้ค่ะ กระดาษชำระก็ได้ เอามาใช้ได้หมด พระเจ้าไม่ลงฑัณฑ์ค่ะ
.
9. แก้วน้ำ 2 แก้ว
แก้วนึงไว้ล้างพู่กัน อีกแก้วไว้ใช้ผสมกับสี
.
10. ปากกาต่อหัว
ในทีนี้หมายถึงปากกาวาดการ์ตูนที่เราใช้ๆ กันแหล่ะค่ะ จะ G Pen , Maru Pen หรือใบโพธิ์ หัวช้อน ก็ได้หมดค่ะ เลือกมาใช้สักอย่างหนึ่งนะ
โอเช! อุปกรณ์ที่จำเป็นทั้งหมดมีเท่านี้ เตรียมพร้อมแล้วก็ไปลงสีภาพกันได้เลยค่ะ!!
.
ขั้นตอนการระบายสีน้ำ